จุดระบายน้ำทิ้งและแนวทางการวางท่อ (Drain Points and Layout Guidelines)

จากความจริงที่ว่า ไอน้ำที่ผลิตจากน้ำมัน  ข้อดีคือน้ำมีราคาถูก  หาได้ง่ายและผลิตได้มาก  ไอน้ำที่จ่ายเข้าท่อความร้อนส่วนหนึ่งจะส่งผ่านท่อฉนวนบางส่วนจะกลั่นตัวควบแน่นเป็นน้ำและขังอยู่ใต้ท้องท่อทำให้ลดหน้าตัดของท่อลง  เมื่อใช้ไอน้ำปริมาณคงที่ความเร็วของไอน้ำที่วิ่งในท่อจะเพิ่มมากขึ้น  เป็นสาเหตุทำให้ค่าความดันตก (Pressure Drop) สูงขึ้น  และเมื่อน้ำใต้ท้องท่อรวมกันมากขึ้นจะกั้นหรืออุดตันการไหลของไอน้ำ ทำให้เกิดการกระแทกของน้ำเนื่องจากไอน้ำพาน้ำที่กลั่นตัววิ่งไปกระแทก (Water Hammer) ตามข้อต่อ  ข้องอ  อุปกรณ์ วาล์วที่ต่ออยู่ในระบบเกิดความเสียหายได้

ถ้าไอน้ำที่เกิดการควบแน่นหลุดเข้าไปในเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการไอน้ำเปียก (Wet Steam)  จะทำให้เกิดความเสียหายคือ  ทำให้เกิดฝ้าบนหน้าพื้นผิวของการถ่ายเทความร้อนซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่อยู่ในกระบวนการผลิตลดลง  และนำไปสู่การกัดกร่อน  และการกัดกร่อนก็จะค่อยๆ ผ่านไปตามท่อ และข้อต่อ  อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องจักร  ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเพิ่มขึ้น  ดังนั้น ต้องกำจัดไอน้ำที่เกิดการควบแน่นออกไปโดยใช้อุปกรณ์กับดักไอน้ำ (Steam Traps) ที่มีอยู่แล้ว  ซึ่งหากไม่กำจัดแล้วจะทำให้อุปกรณ์และเครื่องจักรดังกล่าวมีภาวะมากเกินไป  และทำให้เกิดความเสียหายเร็วขึ้นอีก

การออกแบบระบบท่อจ่ายไอน้ำที่ดีทำให้แน่ใจได้ว่า จะมีการกำจัดไอน้ำที่มีการควบแน่น (condensate)  ออกจากระบบการจ่ายไอน้ำก่อนที่จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาตามมา  การเตรียมการดังกล่าวจะส่งผลให้ท่อที่นำมาติดตั้งสามารถนำไอน้ำที่มีการควบแน่นไหลออกไปในจุดที่ระบายน้ำทิ้งได้

แนวทางการปฏิบัติทั่วๆ ไป  สำหรับการระบายไอน้ำที่ควบแน่นทิ้งอย่างมีประสิทธิภาพ และการออกแบบระบบของท่อจ่ายไอน้ำ มีดังต่อไปนี้

  • ควรวางท่อไอน้ำหลักให้ลาดเอียงตามเส้นทางการไหลของไอน้ำไม่น้อยกว่า 125 มม.  สำหรับทุกๆ 30 เมตรของความยาวท่อ  ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าไอน้ำที่มีการควบแน่นจะไหลออกไปในจุดระบายน้ำทิ้งที่วางไว้
  • ควรกำหนดจุดระบายน้ำทิ้งให้มีระยะห่างระหว่าง 30-45 เมตร  ตามความยาวของท่อไอน้ำหลัก  และการกำหนดจุดระบายน้ำทิ้งอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม  ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับว่ามีการต่อท่อไอน้ำแยกออกไปจากท่อหลักมากน้อยเพียงใด  และมีการเปลี่ยนแปลงของระดับหรือทิศทางของท่อไอน้ำหลักหรือไม่  สำหรับท่อที่วางตรงเพื่อพาไอน้ำแห้งนั้น  ควรติดตั้งจุดระบายน้ำทิ้งและอุปกรณ์กับดักไอน้ำแยกจากกันโดยให้มีช่วงระยะห่างประมาณ 45 เมตร  ซึ่งอาจปรับลดช่วยระยะห่างลงแต่ต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยของระบบด้วย  และกรณีที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มอีกจะมีผลกระทบทั้งกับจุดระบายน้ำทิ้ง  อุปกรณ์กับดักไอน้ำและทางระบายของไอน้ำ  ตัวอย่างเช่น  กรณีหม้อไอน้ำผลิตไอเปียกมาก  การติดตั้งจุดระบายน้ำทิ้งและอุปกรณ์กับดักไอน้ำ  ควรลดระยะห่างให้มีความถี่มากขึ้น
  • ไอน้ำที่เกิดการควบแน่นจะสะสมกันอยู่ในบริเวณจุดที่ต่ำที่สุดของท่อ  เช่น  จุดที่มีข้อต่อ  ข้อโค้งและข้องอ  จะเป็นจุดที่มีไอน้ำควบแน่นเกาะอยู่ตามผนังของท่อ  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีจุดระบายน้ำทิ้งในบริเวณนี้ด้วย
  • ควรมีการจัดเตรียมบ่อพัก (Sump) สำหรับจุดระบายทิ้งในท่อไอน้ำหลักด้วยวิธีง่ายๆ ก็คือใช้ข้อต่อที่เป็นรูปตัว “T” เท่าๆ กัน  จุดที่ต่อดังกล่าวก็จะรองรับน้ำเอาไว้
  • การเลือกอุปกรณ์กับดักไอน้ำเป็นเรื่องสำคัญสำหรับท่อไอน้ำหลัก  ดังนั้นควรมีการใช้อุปกรณ์กับดักไอน้ำแบบถ้วยหงาย (Open Bucket Traps)  หรืออุปกรณ์กับดักไอน้ำแบบเทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics Traps : TD Traps) ทุกๆ ที่ที่เป็นไปได้
  • ท่อย่อยที่ต่อแยกออกไปจากท่อหลักควรต่อที่ส่วนบนสุดของท่อ  ซึ่งทำให้ป้องกันสารปนเปื้อนต่างๆ ที่จะวิ่งพล่านตามไอน้ำ (Carryover) ในท่อเหล่านั้นเข้าไปในระบบท่อใช้งานหลัก
  • ท่อและฉนวนซึ่งมีน้ำหนักมาก ถ้าไม่มีอุปกรณ์ช่วยพยุงน้ำหนักตามระยะห่างอย่างเพียงพอก็จะทำให้ท่อหย่อนลงมา และเกิดเป็นจุดต่ำที่ทำให้เกิดการสะสมของไอน้ำที่ควบแน่นขึ้นมา ประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้พยุงน้ำหนักของท่อหรือระยะความถี่ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลางและความหนาของผนังท่อ
  • ท่อไอน้ำที่ไม่ได้ทำงานที่ความดันหรืออุณหภูมิที่คงที่ตลอดเวลา การเปิดหรือปิดเครื่องทำให้โลหะที่ใช้ทำท่อมีการขยายตัวหรือหดตัว  ดังนั้นหากไม่คำนึงถึงเรื่องนี้ไว้ก็จะทำให้เกิดปัญหาที่นำไปสู่การทำให้ท่อแตกร้าวและเกิดความเสียหายได้ในที่สุด  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้น  ควรติดตั้งชุดรับการขยายตัว (Expansion Loops)  พร้อมอุปกรณ์ดัดโค้งที่ทำให้ไอน้ำไหลเรียบอย่างสม่ำเสมอ  ตามระยะห่างที่เหมาะสมในท่อไอน้ำหลัก  ท่อไอน้ำหลักและท่อไอน้ำย่อยที่มีขนาดเล็กต้องคำนึงถึงเรื่องการขยายตัวด้วย  ในกรณีนี้ควรนำเอาข้อต่อที่ใช้สำหรับการขยายตัวประเภท Bellows-Type มาใช้
  • อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับไอน้ำทั้งหมดทำงานได้ดีที่สุดกับไอแห้ง (Dry Steam)  และการจะได้ไอแห้งก็ต้องใช้อุปกรณ์บางตัว  คือเครื่องแยกไอน้ำหรือเครื่องอบแห้ง (Driers) เป็นตัวกำจัดหยดน้ำที่ปนมากับไอน้ำ ควรติดตั้งเครื่องแยกไอน้ำหรือเครื่องอบแห้งก่อนที่จะติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ และก็ต้องคำนึงถึงว่า  เครื่องแยกไอน้ำหรือเครื่องอบแห้งจะต้องมีการระบายน้ำทิ้งและดักไอน้ำได้อย่างเหมาะสม
ระบบการระบายที่ไม่ดี ——> เกิดการกระแทกของน้ำ ——> ค่าบำรุงรักษาสูงขึ้น ——> การถ่ายเทความร้อนไม่ดี ——> สิ้นเปลืองพลังงาน
Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบงานท่อ boiler, ระบบหม้อไอน้ำ boiler