Blog Archives

อยากทราบว่าการติดตั้ง Temp. Control ก่อนเข้า Plate H/E กับหลัง H/E อย่างไหนจะดีกว่ากัน (ต่างกันอย่างไร)

ถาม อยากทราบว่าการติดตั้ง Temp. Control ก่อนเข้า Plate H/E กับหลัง H/E อย่างไหนจะดีกว่ากัน (ต่างกันอย่างไร) ตอบ การ ติด Control Valve ก่อนเข้าเครื่อง ความดันไอน้ำภายในเครื่องจะเปลี่ยนแปลงตามความต้องการความร้อน ดังนั้นหาก Heat exchanger ถูกออกแบบ over size ก็จะเกิดปัญหา Condensate ท่วมขังเป็นช่วงๆ เนื่องจากความต้องการอุณหภูมิไอน้ำ น้อยลง ซึ่งก็คือความดันไอน้ำอิ่มตัวที่ต้องการก็จะน้อยลงนั่นเอง การติด Control Valve หลัง Steam Trap ด้านขาออกของเครื่องจะพบว่าความดันใน Heat exchanger คงที่

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบงานท่อ boiler, ระบบหม้อไอน้ำ boiler, อุปกรณ์ไอน้ำ boiler

ไม่มีการนำน้ำ Condensate กลับมาใช้ใน Boiler ทั้งระบบ

ถาม ไม่มีการนำน้ำ Condensate กลับมาใช้ใน Boiler ทั้งระบบ ตอบ การ นำ Condensate กลับทุกๆ 1,000 kg/h จะสามารถประหยัดได้ถึง 380,000 บาท/ปี คิดที่ Boiler ที่ใช้น้ำมันเตาประสิทธิภาพ 85% 10 ชั่วโมง 300 วันทำงาน นอกจากนี้ยังช่วยลด Shock load ของ Boiler กำจัดออกซิเจนใน Feed tank จากอุณหภูมิสูงของ Condensate และลดอัตราการ Blowdown เนื่องจากค่า TDS ของ Condensate

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

Steam Trap มีอาการค้างบ่อย

ถาม Steam Trap มีอาการค้างบ่อย ตอบ ตรวจสอบคุณภาพน้ำ Condensate มีสนิมตามมามากหรือไม่ หรือเดินเครื่องไม่ต่อเนื่อง หยุดเป็นเวลานาน จะทำให้ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฎิกริยากับท่อก่อให้เกิดสนิม นอกจากนี้ trap บางชนิด เช่น Thermodynamic และ Invert Bucket trap อาจจะมีอาการค้าง หากหยุดจ่ายไอน้ำเป็นเวลานาน ซึ่งเกิดจาก Air lock

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in อุปกรณ์ไอน้ำ boiler

อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Steam Meters

ถาม เนื่องจากทางโรงงานไม่เคยทราบปริมาณการใช้ไอน้ำมาก่อนเลยจึงอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Steam Meters ตอบ Steam Meter เป็นตัววัดปริมาณไอน้ำที่ใช้เพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขหากมี ความผิดปกติ ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์ทั้งในส่วนของการปรับปรุงประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ และประสิทธิภาพในขบวนการผลิตและเป็นที่ยอมรับกันว่าหลังจากมีการวัดการใช้ไอ น้ำแล้ว สามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงทำให้ประหยัดพลังงานได้ระหว่าง 5-25%

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in อุปกรณ์ไอน้ำ boiler

อยากทราบวิธีสังเกตการทำงานของ Reducing Valve ว่าเสียหรือไม่ ต้องทำอย่างไรบ้าง

ถาม อยากทราบวิธีสังเกตการทำงานของ Reducing Valve ว่าเสียหรือไม่ ต้องทำอย่างไรบ้าง ตอบ Reducing Valve ชนิด Pilot Operate เช่น รุ่น DP17/DP27 สามารถตรวจสอบได้ดังนี้ 1.กรณีความดันขาออกสูงเกินไป ปรับไม่ได้ตามต้องการภายใต้การใช้งานปกติ ควรตรวจสอบชุด Pilot Valve โดยปิดวาล์วสตีม คลายเกลียวของน๊อตปรับแรงดันด้านบน และคลายสกรูของท่อทองแดงของ Control pipe จุดที่ต่อออกจากชุด Pilot Chamber ออก แล้วเปิดวาล์วจ่ายสตีม หากมีไอน้ำพ่นออกมาจาก Pilot Chamber ก็ควรถอดชุด Pilot วาล์วล้างหรือเปลี่ยนใหม่ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุ Main Valve

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler, อุปกรณ์ไอน้ำ boiler

การเลือกระบบบอยเลอร์

การเลือกระบบบอยเลอร์ (Boiler System Selection) ข้อแรกที่ต้องตัดสินใจคือ  การเลือกว่าจะใช้ระบบหม้อไอน้ำหรือระบบน้ำร้อนต้องชัดเจน ขั้นตอนต่อไปก็คือประเมินขนาดของระบบโดยรวม  และลักษณะการเปลี่ยนแปลงภาระงานมีอย่างไรบ้าง  ในทางอุดมคติกรณีที่ภาระงานคงที่และมีจำนวนมาก  จำเป็นต้องใช้หม้อไอน้ำที่มีขนาดใหญ่  แต่ถ้าภาระงานมีพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงทุกชั่วโมง  ทุกวันหรือทุกฤดูกาลและต้องการให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ก็ต้องติดตั้งหม้อไอน้ำขนาดเล็กหลาย ๆ ลูก ขั้นตอนที่ 3 เป็นการระบุให้ชัดเจนว่าหม้อไอน้ำลูกใดเหมาะสมจะทำหน้าที่อะไร  แผนภูมิการทำงานในรูปที่ 41 และ 42 แสดงให้เห็นแนวทางสำหรับการเลือกหม้อไอน้ำไม่ว่าจะเป็นหม้อไอน้ำหรือหม้อน้ำร้อนก็ตาม  โดยมีพื้นฐานปริมาณการผลิตและเงื่อนไขที่ต้องการ  ในแต่ละระดับของปริมาณการผลิตสามารถเลือกได้จากหม้อไอน้ำที่มีให้เลือกหลายชนิด  จากที่กล่าวมาแล้วในตารางที่ 6 ได้แสดงให้เห็นถึงหม้อไอน้ำชนิดใดให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงที่สุด หม้อไอน้ำที่มีขนาดเล็กควรเลือกใช้เชื้อเพลิงเพียง 2 ชนิดเท่านั้นคือ  แก๊สและน้ำมัน  เพื่อให้ราคาเหมาะสม  อย่างไรก็ตามอาจเผื่อทางเลือกไว้สำหรับหม้อไอน้ำที่มีขนาดใหญ่ให้สามารถใช้กับเชื้อเพลิงได้หลายชนิด  ในกรณีนี้จำเป็นต้องหาข้อมูลในเรื่องค่าใช้จ่ายการลงทุน  การดำเนินการและการบำรุงรักษาจากผู้ผลิต  หรือบางทีอาจจะเป็นผู้ที่ใช้หม้อไอน้ำอยู่เดิม เมื่อมีการเลือกหม้อไอน้ำใหม่  หรือต้องการหาหม้อไอน้ำใหม่มาทดแทนที่มีอยู่เดิม  จำเป็นต้องพิจารณาแผนงานการติดตั้งหม้อไอน้ำแบบพลังงานความร้อนร่วม (Combined

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

ตัวกลางส่งถ่ายความร้อน

ตัวกลางที่ใช้ในการส่งถ่ายความร้อน ทำไมต้องเลือกไอน้ำ  เหตุผลที่อธิบายได้ง่ายที่สุดก็คือ  การใช้ไอน้ำเป็นวิธีที่สะดวกที่สุดในการแลกเปลี่ยนความร้อนจากเชื้อเพลิงที่เผาไหม้แล้วในหม้อไอน้ำไปยังจุดที่อยู่ในกระบวนการที่ต้องการความร้อน  อีกทางเลือกหนึ่งคือ  ใช้น้ำหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อพาความร้อนไป  โดยแต่ละวิธีก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การเลือกใช้น้ำร้อนในการพาความร้อนเป็นวิธีที่ไม่ดีนัก  เนื่องจากน้ำสามารถพาความร้อนได้เพียง 419 กิโลจูล ต่อน้ำหนักน้ำ 1 กิโลกรัมที่ความดันบรรยากาศ  ใช้อุณหภูมิน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส  และทำให้เย็นลงที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส  แต่ในทางปฏิบัติพบว่าผลต่างของความร้อนนั้น  อุณหภูมิจะต่ำลงเพียง 10-20 องศาเซลเซียส  ดังนั้นจึงมีเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่น้ำสามารถเป็นตัวกลางพาความร้อนไปใช้ได้จริง  ถ้าความดันอยู่ที่ 10 บาร์ (bar) ความจุความร้อนโดยรวมของน้ำเพิ่มขึ้นถึง 782 กิโลจูล/กิโลกรัม  ในความเป็นจริงจะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ทำได้จากข้อจำกัดนี้  การใช้น้ำเป็นตัวกลางพาความร้อนเพื่อให้ทำงานได้ความร้อนตามความต้องการ  จะต้องใช้ปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากและต้องถูกสูบหมุนเวียนในระบบ  ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเนื่องจากการใช้กระแสไฟฟ้าเป็นอย่างมาก  ตลอดทั้งค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการปฏิบัติงานของระบบจะสูงมากเช่นกัน ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ 

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

บทนำเรื่องไอน้ำ 2/2

แนวทางการปฏิบัติประกอบด้วย 3 ส่วน           ส่วน A  จะเกี่ยวข้องกับลักษณะต่าง ๆ ของการออกแบบระบบไอน้ำและน้ำร้อน  ส่วนนี้ให้ความสำคัญในการตรวจสอบเกี่ยวกับไอน้ำและน้ำร้อนซึ่งเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายความร้อน (Heat Transport Media)  และประสิทธิภาพทั้งระบบการจ่ายไอน้ำและการนำน้ำควบแน่นกลับมาใช้ใหม่  ระบบน้ำร้อน  รวมทั้งความสำคัญของการเตรียมน้ำป้อนอย่างถูกต้อง  ตลอดจนมีการหุ้มฉนวนภายนอกอย่างเหมาะสม  และเน้นความสำคัญของการตรวจสอบและติดตามอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง           ส่วน B  เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์หม้อไอน้ำและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเผาไหม้  การตรวจสอบประเภทของหม้อต้มน้ำหลักที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  และการพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของการใช้เชื้อเพลิงแต่ละชนิด  รวมทั้งคำนึงถึงประเภทของหัวเผา-หัวพ่นไฟ  และระบบการเผาไหม้  เน้นความสำคัญของการควบคุมมลพิษ  ตอนสุดท้านของส่วน B จะเป็นแนวทางสำหรับการเลือกระบบหม้อไอน้ำ           ส่วน C  ตรวจสอบศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการปฏิบัติงานของหม้อไอน้ำ  เพื่อให้แน่ใจในศักยภาพของเครื่องอีโคโนไมเซอร์  การอุ่นอากาศสำหรับเผาไหม้  การปรับความเร็วรอบขงพัดลมและระบบ  การควบคุมระบบให้ทำงานร่วมกัน  ซึ่งแนวทางการปฏิบัติงานเล่มนี้  ได้สรุปขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานในหม้อไอน้ำและการปฏิบัติงานในระบบด้วย           การเรียงลำดับของเนื้อหาได้มาจากข้อมูลที่เคยมีการเผยแพร่  สำหรับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเผาไหม้ที่ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญที่เน้นในเรื่องของการปฏิบัติงานของหม้อไอน้ำ 

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

บทนำเรื่องไอน้ำ 1/2

บทนำเรื่องไอน้ำ การผลิตไอน้ำหรือน้ำร้อนจากหม้อต้มน้ำไปใช้งานนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่เก่าแก่ที่ใช้กันอยู่ และเป็นความพยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยมากขึ้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการผลิตไอน้ำหรือน้ำร้อนจะเป็นการพัฒนาหม้อต้มน้ำที่มีอยู่เดิม  สิ่งแรกที่พัฒนาคือเรื่องของการควบคุม  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ประสบความสำเร็จ  อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาเชิ้อเพลิงจากฟอสซิล (Fossil Fuels) และการออกกฎหมายเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก (Greenhouse Gases) โดยการออกแบบและควบคุมการปฏิบัติงานของหม้อไอน้ำและระบบต่าง ๆ ของหม้อไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในสหราชอาณาจักรมีหม้อต้มน้ำอย่างน้อยที่สุด 50,000 ลูก  ซึ่งหม้อต้มน้ำทุกชนิดและในจำนวนที่กล่าวถึงติดตั้งอยู่ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ  หม้อต้มน้ำหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหม้อต้มน้ำที่ใช้น้ำมันหรือแก๊สเป็นเชื้อเพลิง  จะมีโดยปกติ 1 ใน 3 ของหม้อต้มน้ำเหล่านี้มีอายุใช้งานมากกว่า 20 ปี  และจำเป็นต้องหาหม้อต้มน้ำใหม่มาทดแทนภายใน 2-3 ปีข้างหน้า  แนวโน้มสำหรับการติดตั้งหม้อต้มน้ำใหม่จะเป็นไอน้ำที่ใช้แก๊สธรรมชาติหรือใช้แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas : LPG) ร่วมกับถ่านหินจะมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น  โดยทั่วไปจะใช้กับหม้อต้มน้ำที่มีขนาดใหญ่ หม้อต้มน้ำส่วนใหญ่ถูกละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลเท่าที่ควร  ตราบใดที่หม้อต้มน้ำนั้นยังผลิตน้ำร้อนและไอน้ำได้อย่างปลอดภัย  ตั้งแต่อดีตถึงปีพ.ศ.

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

การวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้ของบอยเลอร์

โดยปกติแล้ว งานตรวจวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้เป็นงานที่เจ้าของกิจการผู้ประกอบการส่วนมากมักจะละเลย และไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ทำให้เกิดความสูญเสียพลังงานไปกับไอเสีย( Flue gas) มากเกินความจำเป็น ท่านทราบหรือไม่ว่า การสูญเสียพลังงานไปกับก๊าซร้อนไอเสีย ( Flue gas ) มีมากกว่า 8—35% ขึ้นกับชนิดของเชื้อเพลิงและปัจจัยที่มีผลกระทบมากคือ อุณหภูมิของกาซร้อนไอเสียที่ทางออกและปริมาณอากาศที่เกินพอ( Excess air) ในขณะนั้น ดังนั้นการที่ท่านได้ให้ความสำคัญกับการควบคุมปริมาณอากาศที่เกินพอ( Excess air) และควบคุมอุณหภูมิของไอเสียให้อยู่ในกำหนดเกณฑ์ (ตามตารางแนะนำ) ของแต่ละชนิดของเชื้อเพลิงก็จะทำให้ท่านสามารถประหยัดเงินของท่านได้มากทีเดียว ข้อเสนอแนะการกำหนดค่า Excess Air ของเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ เชื้อเพลิง Excess air%   O2 ใน Flue gas %     mim

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in การคำนวณและการตรวจวัด